ทนายความจังหวัดกาญจนบุรี

ทนายความจังหวัดกาญจนบุรี

เปิดหน้าต่อไป

รู้จักจังหวัดกาญจนบุรี

คำขวัญประจำจังหวัดกาญจนบุรี

  แคว้นโบราณ ด่านเจดีย์ มณีเมืองกาญจน์ สะพานข้ามแม่น้ำแคว แหล่งแร่น้ำตก  

จังหวัดกาญจนบุรี

กาญจนบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกของประเทศไทย มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 19,473 ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ รองจากจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดเชียงใหม่ และมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันตก มีระยะทางห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 129 กิโลเมตร มีชายแดนติดต่อกับประเทศพม่าระยะทางประมาณ 370 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ ทิศเหนือ จรดจังหวัดตากและจังหวัดอุทัยธานี ทิศใต้ จรดจังหวัดราชบุรี ทิศตะวันออก จรดจังหวัดสุพรรณบุรีและนครปฐม ทิศตะวันตก จรดประเทศพม่า


ประวัติ

ความเป็นมาของกาญจนบุรีเท่าที่มีการค้นพบหลักฐานนั้น ย้อนไปได้ถึงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อมีการค้นพบเครื่องมือหินในบริเวณบ้านเก่า อำเภอเมืองกาญจนบุรี ล่วงมาถึงสมัยทวารวดี ซึ่งมีหลักฐานคือซากโบราณสถานที่ตำบลปรังเผล อำเภอสังขละบุรี เป็นเจดีย์ลักษณะเดียวกับจุลประโทนเจดีย์ที่จังหวัดนครปฐม บ้านคูบัว จังหวัดราชบุรี และเมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี รวมทั้งค้นพบโบราณวัตถุ เช่น พระพิมพ์สมัยทวารวดีจำนวนมาก[3] สืบเนื่องต่อมาถึงสมัยพุทธศตวรรษที่ 16-18 หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ค้นพบคือปราสาทเมืองสิงห์ ซึ่งมีรูปแบบศิลปะแบบขอม[3] สมัยบายน

ประตูเมืองกาญจนบุรี สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2374

กาญจนบุรียังปรากฏในพงศาวดารเหนือว่า กาญจนบุรีเป็นเมืองขึ้นของสุพรรณบุรีในสมัยสุโขทัย ครั้นมาถึงสมัยอยุธยา กาญจนบุรีก็มีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญในการทำสงครามระหว่างกองทัพไทยกับพม่า จนกระทั่งถึงสมัยกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ เดิมตัวเมืองกาญจนบุรีเดิมนั้นตั้งอยู่ที่ตำบลลาดหญ้า (บริเวณเขาชนไก่ในปัจจุบัน) ภายหลังจนถึง พ.ศ. 2374 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้โปรดให้ก่อสร้างกำแพงเมืองและป้อมปราการขึ้นเป็นการถาวร ณ เมืองกาญจนบุรีใหม่โดยตั้งอยู่ ณ ตำบลปากแพรก อันเป็นสถานที่บรรจบของแม่น้ำแควใหญ่และแม่น้ำแควน้อย โดยตัวเมืองอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำแม่กลองกับแม่น้ำแควใหญ่ ซึ่งมีความเหมาะสมทางยุทธศาสตร์และด้านการค้า โดยเริ่มก่อสร้างเมืองเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2374 และสำเร็จในวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2375 และได้แยกออกจากสุพรรณบุรีนับแต่นั้นเป็นต้นมา ทั้งนี้โดยมีพระราชประสงค์ส่วนใหญ่เพื่อติดต่อค้าขายกับเมืองราชบุรี ดังพระราชนิพนธ์เสด็จประพาสไทรโยค กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า "แต่มีเมืองปากแพรกเป็นที่ค้าขาย ด้วยเขาชนไก่เมืองเดิมอยู่เหนือมากมีแก่งถึงสองแก่ง ลูกค้าไปมาลำบาก จึงลงมาตั้งเมืองเสียที่ปากแพรกนี้เป็นทางไปมาแก่เมืองราชบุรีง่าย เมืองที่สร้างขึ้นใหม่ กว้าง 5 เส้น ยาว 10 เส้น 18 วา มีป้อม 4 มุมเมือง ป้อมย่านกลางด้านยาวตรงหน้าเมืองทิศตะวันตกเฉียงใต้มีป้อมใหญ่อยู่ตรงเนิน ด้านหลังมีป้อมเล็กตรงกับป้อมใหญ่ 1 ป้อม" การสร้างเมืองกาญจนบุรีใหม่นี้ ดังปรากฏในศิลาจารึกดังนี้ ให้พระยาราชวรินทร์ เจ้ากรมพระตำรวจเป็นพระยาประสิทธิสงครามรามภักดีศรีพิเศษประเทศนิคมภิรมย์ราไชยสวรรค์พระยากาญจนบุรี ครั้งกลับเข้าไปเฝ้าโปรดเกล้าฯ ว่าเมืองกาญจนบุรีเป็นเมืองอังกฤษ พม่า รามัญ ไปมาให้สร้างเมืองก่อกำแพงขึ้นไว้จะได้เป็นชานพระนครเขื่อนเพชรเขื่อนขัณฑ์มั่นคงไว้แห่งหนึ่ง ในปัจจุบันกำแพงถูกทำลายลงโดยธรรมชาติและหน่วยราชการเพื่อประโยชน์อย่างอื่น เหลือเพียงประตูเมืองและกำแพงเมืองบางส่วน[3]

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อมีการจัดรูปแบบการปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาล กาญจนบุรีถูกโอนมาขึ้นกับมณฑลราชบุรี[4] และยกฐานะเป็นจังหวัดกาญจนบุรีในปี พ.ศ. 2467

เหตุการณ์ที่ทำให้กาญจนบุรีมีชื่อเสียงไปทั่วโลก คือช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อญี่ปุ่นได้ตัดสินใจสร้างทางรถไฟยุทธศาสตร์ จากชุมทางหนองปลาดุกในประเทศไทยไปยังเมืองทันบูซายัตในพม่า โดยเกณฑ์เชลยศึกและแรงงานจำนวนมากมาเร่งสร้างทางรถไฟอย่างหามรุ่งหามค่ำ จนทำให้มีผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก ทั้งจากความเป็นอยู่ที่ยากแค้นและโรคภัยไข้เจ็บที่รุมเร้า ซึ่งภาพและเรื่องราวของความโหดร้ายในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ปรากฏอยู่ในพิพิธภัณฑ์หลายแห่งในกาญจนบุรี

ชื่อเรียกอื่น ๆ ของกาญจนบุรี เช่น เมืองกาญจน์ ปากแพรก ศรีชัยยะสิงหปุระ[5] (ซึ่งในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เรียกเมืองกาญจนบุรีว่า ศรีชัยยะสิงหปุระ) และเมืองขุนแผน เป็นต้น

อาณาเขตติดต่อ

ตามภูมิศาสตร์ที่ตั้ง จังหวัดกาญจนบุรีเป็นจังหวัดที่อยู่ในภาคตะวันตก แต่ในทางการปกครองแบบ 4 ภูมิภาค (เหนือ อีสาน กลาง ใต้)และกรมอุตุนิยมวิทยา จะถูกจัดอยู่ในภาคกลาง มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดอื่น ๆ 5 จังหวัด ดังนี้

ทิศเหนือ ติดกับ อำเภออุ้มผาง (จังหวัดตาก) อำเภอบ้านไร่ (จังหวัดอุทัยธานี) รัฐมอญและรัฐกะเหรี่ยง (ประเทศพม่า)
ทิศตะวันออก ติดกับ อำเภอบ้านไร่ (จังหวัดอุทัยธานีอำเภอด่านช้าง อำเภอหนองหญ้าไซ อำเภอดอนเจดีย์ อำเภออู่ทองและ อำเภอสองพี่น้อง(จังหวัดสุพรรณบุรี)
ทิศใต้ ติดกับ อำเภอกำแพงแสน (จังหวัดนครปฐมอำเภอสวนผึ้ง อำเภอจอมบึง อำเภอโพธารามและ อำเภอบ้านโป่ง(จังหวัดราชบุรี)
ทิศตะวันตก ติดกับรัฐมอญ และภาคตะนาวศรี (ประเทศพม่า) โดยมีแนวเขาสำคัญแบ่งเขตแดนระหว่างไทยกับพม่าคือทิวเขาถนนธงชัย และทิวเขาตะนาวศรีภูมิประเทศ[แก้]แม่น้ำรันตีทางตอนใต้ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรเขตติดต่อกับอุทยานแห่งชาติเขาแหลม

พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดเป็นป่าไม้และภูเขาสูง โดยเฉพาะพื้นที่ทางด้านเหนือและตะวันตกของจังหวัด ถึงแม้จังหวัดกาญจนบุรีจะมีเขตพื้นที่ติดกับจังหวัดตากทางด้านทิศเหนือ แต่ก็ไม่มีถนนเชื่อมต่อกัน เนื่องจากมีเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ซึ่งเป็นมรดกโลกและมีป่าที่อุดมสมบูรณ์รกทึบสลับกับมีภูเขาอันสลับซับซ้อน หากจะเดินทางติดต่อกันต้องอ้อมไปทางจังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดชัยนาท จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดกำแพงเพชร แล้วจึงเข้าจังหวัดตาก ซึ่งมีระยะทางกว่า 490 กิโลเมตร และหากต้องการเดินทางไปอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดกาญจนบุรี จะต้องเดินทางย้อนลงมาทางใต้รวมระยะทางกว่า 700 กิโลเมตร

ลักษณะภูมิประเทศจังหวัดกาญจนบุรี แบ่งออกได้ 3 ลักษณะดังนี้

เขตภูเขาและที่สูง พื้นที่ทางด้านทิศเหนือของจังหวัด ได้แก่ บริเวณอำเภอสังขละบุรี อำเภอทองผาภูมิ อำเภอศรีสวัสดิ์ และอำเภอไทรโยค มีลักษณะเป็นเทือกเขาต่อเนื่องมาจากเทือกเขาถนนธงชัยถัดไปทางด้านตะวันตกของจังหวัด เทือกเขาตะนาวศรีซึ่งกั้นพรมแดนระหว่างไทยกับประเทศพม่าทอดยาวลงไปทางด้านใต้ บริเวณนี้จะเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำที่สำคัญของจังหวัด คือ แม่น้ำแควใหญ่ และแม่น้ำแควน้อย ซึ่งในแถบนี้จะมีรอยเลื่อนอยู่หลายรอยและมักเกิดแผ่นดินไหวในพื้นที่บ่อยครั้งเขตที่ราบลูกฟูก ได้แก่ พื้นที่ตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด มีลักษณะเป็นที่ราบเชิงเขาสลับกับเนินเขาเตี้ย ๆ อยู่บริเวณอำเภอเลาขวัญ อำเภอบ่อพลอย และบางส่วนของอำเภอพนมทวนเขตที่ราบลุ่มน้ำ ได้แก่ พื้นที่ทางด้านใต้ของจังหวัด ลักษณะเป็นที่ราบ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ อยู่บริเวณอำเภอท่ามะกา อำเภอท่าม่วง และบางส่วนของอำเภอพนมทวน อำเภอเมืองกาญจนบุรีภูมิอากาศ[แก้]ฤดูร้อน ระหว่างกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม มีลมฝ่ายใต้พัดมาปกคลุม ทำให้มีอากาศร้อนอบอ้าวทั่วไป โดยมีอากาศร้อนจัดอยู่ในเดือนเมษายนฤดูฝน ระหว่างกลางเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน ในระยะนี้เป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุม ทำให้มีฝนตกชุกโดยตกชุกที่สุดในเดือนกันยายนฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ โดยในช่วงนี้ ความกดอากาศสูงจากประเทศจีนและลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุม ทำให้อากาศหนาวเย็นและความแห้งแล้งแผ่ปกคลุมจังหวัดกาญจนบุรี

จังหวัดกาญจนบุรีมีอุณหภูมิต่ำสุดโดยเฉลี่ย 22.7 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดโดยเฉลี่ย 36.0 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำที่สุดวัดได้ 3.7 องศาเซลเซียส (เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2517) อุณหภูมิสูงสุดที่วัดได้ 44.2 องศาเซลเซียส (เมื่อ 12 เมษายน พ.ศ. 2559) และมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1496.2 มิลลิเมตรต่อปี

หน่วยการปกครอง อำเภอต่างๆในจังหวัดกาญจนบุรี

จังหวัดกาญจนบุรีแบ่งเขตการปกครองส่วนภูมิภาคออกเป็น 13 อำเภอ 98 ตำบล 959 หมู่บ้าน 206 ชุมชน โดยทั้ง 13 อำเภอ มีดังนี้


  1. อำเภอเมืองกาญจนบุรี

ที่ว่าการอำเภอเมืองกาญจนบุรี ถนนแสงชูโต ตำบลปากแพรก อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 71000
โทรศัพท์ : 0-3451-1040 
Fax. : 0-3451-1040 
Email : 
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567


2.  อำเภอไทรโยค

ที่ว่าการอำเภอไทรโยค หมู่ที่ 1 ตำบลลุ่มสุ่ม

อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี 71150

โทรศัพท์ : 034-591065 

Fax. : 034-591065 

Email : -

สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567 


3. อำเภอบ่อพลอย

ที่ว่าการอำเภอบ่อพลอย เลขที่ 54/1 ถนนสายใน ตำบลบ่อพลอย อำเภอบ่อพลอย

จังหวัดกาญจนบุรี 71160
โทรศัพท์ : 0-3458-1236 กด 106 
Fax. : - 
Email : dopa71160.kan@gmail.com 
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567 


4. อำเภอศรีสวัสดิ์

ที่ว่าการอำเภอศรีสวัสดิ์ หมู่ที่ 3 ตำบลด่านแม่แฉลบ อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี 71250

โทรศัพท์ : 034-597-054 

Fax. : 034-597-054 

Email : 

สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567 


    5. อำเภอท่ามะกา

    ที่ว่าการอำเภอท่ามะกา ถนนแสงชูโต หมู่ที่ 2 ต.ท่ามะกา อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี 71120
    โทรศัพท์ : 034-694321,034541811 
    Fax. : 0-34694321 
    Email : thamaka71120@gmail.com 
    สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567 


      6. อำเภอท่าม่วง

      ที่ว่าการอำเภอท่าม่วง หมู่ที่ 1 ตำบลท่าม่วง อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี 71110
      โทรศัพท์ : 0-3461-1040 
      Fax. : 0-3462-6651 
      Email : thamuang37106@gmail.com 
      สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567 


        7. อำเภอทองผาภูมิ

        ที่ว่าการอำเภอทองผาภูมิ หมู่ที่ 1 ตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี 71180
        โทรศัพท์ : 034-599745 
        Fax. : 034-599745 
        Email : 
        สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567 


          8. อำเภอสังขละบุรี

          ที่ว่าการอำเภอสังขละบุรี ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 71240
          โทรศัพท์ : 0-3459-5094,034-595120 
          Fax. : 0-3459-5120 
          Email : 
          สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567 


            9. อำเภอพนมทวน

            ที่ว่าการอำเภอพนมทวน หมู่ที่ 3 ถนนกาญจนบุรี-อู่ทอง ตำบลพนมทวน อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี 71140
            โทรศัพท์ : 0-3457-9246 
            Fax. : 0-3457-9246 
            Email : 
            สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567 


              10. อำเภอเลาขวัญ

              ที่ว่าการอำเภอเลาขวัญ ถนนเลาขวัญ-สระกระโจม ตำบลเลาขวัญ อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี 71210
              โทรศัพท์ : 0-3457-6114 
              Fax. : 0-3457-6114 
              Email : 
              สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567 


                11. อำเภอด่านมะขามเตี้ย

                ที่ว่าการอำเภอด่านมะขามเตี้ย หมู่ที่ 1 ตำบลด่านมะขามเตี้ย อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี 71260
                โทรศัพท์ : 0-3464-2290 
                Fax. : 0-3464-2290 
                Email : 
                สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567 


                  12. อำเภอหนองปรือ

                  ที่ว่าการอำเภอหนองปรือ ถนนเฉลิมรัตนโกสินทร์ ตำบลหนองปรือ อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี 71220
                  โทรศัพท์ : 0-3464-5236 
                  Fax. : 0-3464-5216 
                  Email : 
                  สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567 


                    13. อำเภอห้วยกระเจา

                    ที่ว่าการอำเภอห้วยกระเจา เลขที่ 399 ถนนบ่อพลอย-อู่ทอง หมู่ที่ 6 ตำบลห้วยกระเจา อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี 71170
                    โทรศัพท์ : 0-3451-0345 
                    Fax. : 0-3451-0345 
                    Email : kan.hkj1318@gmail.com 
                    สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567